หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว




น้ำมันมะพร้าวช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
หากร่างกายขาดแคลเซี่ยมและแม็กเนเซี่ยม จะทำให้กระดูกไม่แข็งแรง เกิดอาการกระดูกเปราะ แตกหักง่าย การรับประทานน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซับแคลเซี่ยมและแม็กเนเซี่ยม จึงเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง

น้ำมันมะพร้าวเป็นประโยชน์กับทารกและตัวอ่อนในครรภ์
เพราะน้ำมันมะพร้าวทำให้ร่างกายดูดซับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย หากผู้ที่กำลังจะเป็นคุณแม่รับประทานอาหารที่ประกอบด้วยน้ำมันมะพร้าวทารกจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างพอเพียง นอกจากนั้นในน้ำมันมะพร้าวยังประกอบด้วยกรดลอริค ซึ่งเป็นกรดไขมันที่พบได้ในน้ำนมแม่ การรับประทานน้ำมันมะพร้าวจึงเป็นการกระตุ้นให้น้ำนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหาร และกรดลอริคนี่เองที่มีอำนาจในการฆ่าเชื้อโรค ทำให้ทารกแข็งแรงมีภูมิคุ้มกัน

น้ำมันมะพร้าวมีประโยชน์กับผู้มีปัญหาเรื่องตับ
จากที่กล่าวแล้วว่าคนเราจำเป็นต้องรับประทานไขมัน แต่น้ำมันส่วนมากเป็นกรดไขมันสายยาวจึงย่อยยาก ต้องอาศัยน้ำดีและเอนไซม์จากตับเป็นตัวช่วยย่อย กระบวนการการย่อยไขมันจะเกิดที่ลำไส้ ผู้ที่เป็นเบาหวานตับอ่อนบกพร่อง หรือผู้ที่เคยผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกจะรู้กันดีว่ามีปัญหาเรื่องย่อยไขมัน สำหรับน้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันสายปานกลาง ย่อยง่ายสามารถย่อยได้แม้ในกระเพาะอาหาร น้ำมันมะพร้าวจึงมีประโยชน์มากกับผู้มีปัญหาเรื่องตับ

น้ำมันมะพร้าวถูกใช้เป็นอาหารเสริมกำลังแก่นักกีฬา
ด้วยความที่ย่อยง่าย ร่างกายสามารถนำไปใช้สร้างเป็นพลังงานได้เร็ว น้ำมันมะพร้าวจึงถูกนำไปทำเป็นอาหารบำรุงกำลังแก่นักกีฬาทั้งแบบชงดื่มและแบบแท่ง ทั้งนี้ไม่เป็นการผิดกฏ เนื่องจากการใช้น้ำมันมะพร้าวช่วยเพิ่มพลังงานไม่มีผลตกค้างและผลข้างเคียงแบบการใช้ยาหรือการใช้สารกระตุ้น

น้ำมันมะพร้าวกับการทำงานของต่อมไทรอยด์
บางขณะการทำงานของต่อมไทรอยด์ติดอยู่ในอัตราที่ต่ำเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในนามของปัญหาไทรอยด์ต่ำ การรับประทานน้ำมันมะพร้าวจะช่วยบู๊สท์พลังงานให้กับต่อมไทรอยด์ เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวให้พลังงานสูง ดูดซับเร็ว จึงสามารถกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์กลับมาทำงานในอัตราปรกติได้

น้ำมันมะพร้าวช่วยปกป้องคุ้มครองไต
โรคไตเป็นสภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน ไตวายเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เสียชีวิตของโรคเบาหวาน เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้รับการควบคุมเป็นเวลานานปัญหาการไหลเวียนจึงเกิดขึ้น สร้างความเสียหายให้กับเส้นเลือดเล็กๆที่ไต มีหลักฐานว่าน้ำมันมะพร้าวช่วยป้องกันไตจากความเสียหาย และช่วยให้กลับมาทำงานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างจากงานศึกษาชิ้นหนึ่ง สภาวะไตวายถูกทำให้มีขึ้นในสัตว์ทดลอง กลุ่มที่ได้รับน้ำมันมะพร้าวมีความเสียหายร้ายแรงเกิดขึ้นกับไตน้อยกว่า และมีอายุอยู่ได้นานกว่า นักวิจัยสรุปว่าน้ำมันมะพร้าวมีผลในการช่วยป้องกันไต ถ้าความเสียหายไม่รุนแรงจนเกินไป น้ำมันมะพร้าวสามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้ แต่ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นอย่างถาวร น้ำมันมะพร้าวจะช่วยไม่ให้อาการเลวร้ายลงกว่าเดิม

น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ
น้ำมันมะพร้าวเมื่อแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระจะมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค การรับประทานน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำจะทำให้เชื้อโรคร้ายต่างๆในร่างกายของเราลดลง ทำให้ไม่ค่อยเจ็บไข้ได้ป่วย การฆ่าเชื้อของน้ำมันมะพร้าวไม่เหมือนกับการฆ่าเชื้อด้วยยาปฎิชีวนะ จึงไม่ทำให้เชื้อเกิดการดื้อยา นอกจากนี้น้ำมันมะพร้าวยังช่วยขับถ่ายพยาธิอีกด้วย

น้ำมันมะพร้าวกับปัญหาเชื้อรา
เชื้อราในที่นี้มีชื่อว่าเชื้อราแคนดิดา คุณผู้หญิงจะรู้จักมันในรูปแบบของเชื้อราในช่องคลอด บรรดาคุณพ่อคุณแม่จะรู้จักมันในรูปแบบของเชื้อราที่เกิดตามปากและช่องคอของเด็กอ่อน หรือเชื้อราตามผิวหนังที่เกิดภายใต้ความอับชื้นของผ้าอ้อม ปกติเชื้อราแคนดิดาอาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์อย่างไม่มีพิษภัย เนื่องจากถูกสารที่เกิดจากแบ็คทีเรียชนิดดีคอยควบคุมไว้ จึงมีจำนวนไม่มากนัก แต่เมื่อเรารับประทานยาบางชนิดโดยเฉพาะ ยาปฏิชีวนะ จำพวกสเตียรอยด์ (คอร์ซิโตนเอทีซีเอชเพร็ดนิโซนและยาคุมกำเนิด) ยาพวกนี้จะฆ่าแบ็คทีเรียในลำไส้ของเราไม่ว่าเป็นชนิดดีหรือชนิดร้าย แต่ไม่ฆ่าเชื้อราแคนดิดา เมื่อไม่มีแบ็คทีเรียคอยควบคุม เชื้อราแคนดิดาจะทวีจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างของตัวเองเป็นราหลายเซลฝังตัวลงในลำไส้ ทำให้ลำไส้เป็นแผล เกิดโรคลำไส้อักเสบ น้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราพวกนี้ และสามารถคืนความสมดุลให้กับลำไส้เมื่อเรารับประทานเป็นประจำ

น้ำมันมะพร้าวช่วยแก้ปัญหาการอักเสบเรื้อรัง
ท่านที่มีปัญหาไม่สบายเนื้อตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ ผิวหนังมีอาการแพ้หรืออักเสบเรื้อรังเป็นรอยด่างดำ มีการอักเสบที่ระบบทางเดินอาหารทำให้ท้องเสียเรื้อรัง การรับประทานน้ำมันมะพร้าวทุกวันสามารถแก้ปัญหานี้ได้ เพราะน้ำมันมะพร้าวจะเข้าไปช่วยสร้างความสมดุลในระบบทางเดินอาหารเช่นในกระเพาะและลำไส้ ช่วยลดจำนวนของแบ็คทีเรียร้าย และทำให้แบ็คทีเรียชนิดดีเพิ่มปริมาณมากขึ้น

น้ำมันมะพร้าวไม่ทำอันตรายแบ็คทีเรียชนิดดีในลำไส้
ในร่างกายของคนเรา ส่วนมากในลำไส้จะประกอบด้วยแบ็คทีเรียชนิดที่เป็นคุณและเป็นโทษกับร่างกาย แบ็คทีเรียชนิดดีจะคอยควบคุมของปริมาณของแบ็คทีเรียร้ายไม่ให้มีมากเกินไป การรับประทานยาบางชนิดจะไปฆ่าแบ็คทีเรียทั้งชนิดที่เป็นโทษและเป็นคุณกับร่างกาย การรับประทานน้ำมันมะพร้าวจะไม่ฆ่าแบ็คทีเรียชนิดดี เพราะแบ็คทีเรียชนิดดีก็เช่นเดียวกับร่างกายหรือเซลล์ของร่างกาย ที่ชอบแต่อาหารที่ดีมีประโยชน์ต่างกับแบ็คทีเรียร้ายที่ชอบอาหารพวกคาร์โบไฮเดรท

น้ำมันมะพร้าวเป็นสารแอนตีออกซิแดนท์
การเสื่อมสภาพหรือการออกซิเดชั่นของไขมันนั้น เกิดขึ้นได้ทั้งภายนอกและภายในร่างกาย การเสื่อมสภาพของไขมันในร่างกายทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆมากมาย เช่นทำให้เกิดโรคมะเร็ง เส้นเลือดอุดตันอันนำไปสู่การเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ การเสื่อมของประสาทตาในโรคเบาหวานเป็นต้น เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวสามารถยับยั้งการเสื่อมสภาพของไขมัน ช่วยลดอนุมูลอิสระที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของไขมันในร่างกาย น้ำมันมะพร้าวจึงเป็นสารแอนตีออกซิแดนท์

น้ำมันมะพร้าวช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคหัวใจ และเบาหวาน
ด้วยเหตุที่น้ำมันมะพร้าวช่วยลดอนุมูลอิสระ อันเกิดจากการเสื่อมสภาพหรือการออกซิเดชั่นภายในร่างกาย จึงช่วยลดการเสื่อมของหลอดเลือดหัวใจ ลดการเสื่อมของดวงตาในกรณีของโรคเบาหวาน และลดอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง น้ำมันมะพร้าวจึงทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆด้วยเหตุนี้

น้ำมันมะพร้าวทำให้เหงือกแข็งแรง
ปัญหาโรคเหงือก เหงือกช้ำ บวม แดง หรือมีเลือดออกตามไรฟัน สามารถแก้ได้โดยการรับประทานน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำ เพราะน้ำมันมะพร้าวทำให้ร่างกายแข็งแรง ทำให้เหงือกแข็งแรง (อาการเกี่ยวกับเหงือกอาจเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน)

น้ำมันมะพร้าวกับการทำออยล์พูลลิ่ง
ออยล์พูลลิ่งเป็นการบำบัดด้วยวิธีทางธรรมชาติ โดยการอมและเคลื่อนน้ำมันไปทั่วช่องปากประมาณวันละ 15-20 นาทีจึงบ้วนทิ้งไป ออยล์พูลลิ่งจะดึงแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคหรือสร้างสารพิษออกจากช่องปาก ทำให้ช่องปากรวมไปถึงร่างกายมีสุขภาพดี น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็นเหมาะจะใช้ทำออยล์พูลลิ่ง เนื่องจากเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าน้ำมันพืชชนิดใด มีความสะอาด และยังมีกลิ่นรสเป็นที่น่าพอใจอีกด้วย

เรื่องราวของน้ำมันมะพร้าวกับต่อมลูกหมาก
ชายผู้หนึ่งอาศัยในประเทศฟินแลนด์ มีปัญหาต่อมลูกหมากโตทำให้ปัสสาวะลำบากมาเป็นเวลากว่าสิบปีจนต้องรับประทานยาติดต่อกันมา 7-8 ปีแล้ว แต่ผลข้างเคียงของยาทำให้คัดจมูก ชายผู้นี้ได้ความรู้จากอินเตอร์เน็ทว่า น้ำมันปาล์มสกัดสามารถแก้ปัญหาต่อมลูกหมากโตโดยไม่มีผลข้างเคียง จึงเปลี่ยนมาใช้น้ำมันปาล์มสกัดแทนยาโดยได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ต่อมาเขาสังเกตว่ากรดไขมันในน้ำมันมะพร้าวและกรดไขมันในน้ำมันปาล์มนั้นมีความเหมือนกันในส่วนประกอบหลัก จึงเปลี่ยนมาใช้น้ำมันมะพร้าวแทนน้ำมันปาล์มสกัดที่หาซื้อยากในฟินแลนด์ ปัจจุบันเขารับประทานน้ำมันมะพร้าวติดต่อกันมาได้ ปีแล้วโดยไม่มีปัญหากับการปัสสาวะ

น้ำมันมะพร้าวกับเอนไซม์
เอนไซม์มีหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมีในสิ่งมีชีวิต จึงมีความสำคัญกับชีวิตเป็นอย่างมาก หากเอนไซม์หยุดทำงานชืวิตจะดับสิ้นไปอย่างรวดเร็ว ยาพิษที่ชื่อไซยาไนด์มีฤทธิ์หยุดยั้งการทำงานของเอนไซม์ เมื่อเข้าไปสู่ร่างกายจะทำให้เสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่วินาทีเพราะไปหยุดยั้งการทำงานของเอนไซม์
แต่ถ้าเอนไซม์ในร่างกายบกพร่องมีปริมาณลดน้อยลงเนื่องจากรับประทานอาหารที่ไม่มีเอนไซม์ ร่างกายจะเสื่อมโทรมเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆน้ำมันมะพร้าวมีส่วนช่วยให้ร่างกายประหยัดเอนไซม์ทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงมีส่วนทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงในอีกทางหนึ่ง

น้ำมันมะพร้าวกับเอดส์
การทดลองเรื่องผลของน้ำมันมะพร้าวที่มีต่อไวรัส HIV ทำขึ้นครั้งแรกที่โรงพยาบาลซานลาซาโรในประเทศฟิลิปปินส์ การทดลองกระทำกับกลุ่มคนไข้อายุ 22-38 ปีที่ไม่เคยรับการรักษา HIV มาก่อน การทดลองใช้ระยะเวลา เดือน ผลการทดลองวัดจากปริมาณไวรัสในเลือดและปริมาณของ CD4 (ซีดีโฟร์-ปริมาณของเซลล์เม็ดเลือดขาว) โดยให้คนไข้บางส่วนรับประทานน้ำมันมะพร้าววันละ 3½ ช้อนโต๊ะหรือน้อยกว่าเป็นประจำทุกวัน และให้คนไข้บางส่วนรับประทานโมโนลอริน ซึ่งเป็นโมโนกลีเซอร์ไรด์ของกรดลอริคในน้ำมันมะพร้าว เมื่อสิ้นสุดการทดลอง คนไข้ ใน14 คนมีปริมาณไวรัสในเลือดลดลง, 5 คนมีปริมาณ CD4 เพิ่มขึ้น และ 11 คนมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งทั้งหมดเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการมีสุขภาพดีขึ้น น.พ.คอนราโด เดย์ริท กล่าวว่า "ผลการทดลองนี้ยืนยันคำกล่าวที่ว่า น้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อและสามารถช่วยให้ปริมาณไวรัส HIV ลดลงได้"

การรับประทานน้ำมันมะพร้าว
คำถามแรกที่ผู้เริ่มเรียนรู้ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวมักจะถามคือ ควรรับประทานน้ำมันมะพร้าวในปริมาณวันละเท่าไรคำตอบคือ วันละเท่าไรก็ได้ที่คุณรู้สึกเหมาะสม แม้แต่วันละครึ่งช้อนก็มีประโยชน์ ขนาดที่แนะนำคือ 3½ ช้อนโต๊ะสำหรับผู้ใหญ่ทั่วๆไป เป็นปริมาณที่อัตราส่วนพอๆกับกรดไขมันสายปานกลางธรรมชาติที่พบในน้ำนมแม่ ซึ่งเป็นปริมาณเพียงพอที่จะป้องกันทารกจากการติดเชื้อ การเจ็บไข้ได้ป่วย และช่วยในการรับสารอาหารที่มีคุณค่าในสภาวะปกติทั่วๆไป โดยเฉลี่ยรับประทานคราวละน้อยตลอดทั้งวันจนครบจำนวน สำหรับผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 70กก. ปริมาณ 3½ ช้อนโต๊ะเป็นปริมาณที่เหมาะสม ผู้ที่มีน้ำหนักน้อยกว่านี้สามารถลดปริมาณลง ½ ช้อนโต๊ะต่อน้ำหนักที่น้อยลง 10กก. ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 70กก. รับประทานวันละ ช้อนโต๊ะถือเป็นปริมาณที่เหมาะสม

น้ำมันมะพร้าวให้ผลดีที่สุดกับการบำรุงผิว
นอกจากการเสื่อมสภาพหรือการเกิดออกซิเดชั่นจะเกิดขึ้นภายในร่างกายแล้ว การออกซิเดชั่นสามารถเกิดขึ้นภายนอกร่างกายได้เช่นเดียวกันการเสื่อมสภาพภายนอกร่างกายเกิดขึ้นที่ผิวนั่นเอง ซึ่งจะออกในรูปของการแพ้ เกิดรอยด่างดำต่างๆ แม้แต่ผิวหนังเหี่ยวย่นก็เป็นผลของการเกิดออกซิเดชั่น การทาน้ำมันมะพร้าวที่ผิวจึงเป็นการลดหรือกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นกับผิวนั่นเอง น้ำมันมะพร้าวยังปลอดภัยกับผิวเด็กเราจึงสามารถใช้ทาผิวทารก

น้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยวิตะมิน คุณภาพสูง
วิตะมิน ในน้ำมันมะพร้าวเป็นสารโทโคไทรอินอล ซึ่งเป็นรูปแบบของวิตะมิน ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าวิตะมิน อีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นสารโทโคเฟอรอล ซึ่งใช้กันอยู่ในเครื่องสำอางรักษาผิวทั่วไปถึง 40-50 เท่า

น้ำมันมะพร้าวช่วยป้องกัน-รักษาฝ้า กระ และสามารถใช้เป็นยากันแดด
อนุมูลอิสระเป็นสาเหตุหนึ่งของการเป็นฝ้าและกระ วิตะมิน ในน้ำมันมะพร้าวจะทำหน้าที่ละลายอนุมูลอิสระเหล่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นยากันแดดได้ดีอีกด้วย เนื่องจากเมื่อแห้งแล้วไม่เหนียวเหนอะหนะ

น้ำมันมะพร้าวทำความสะอาดรูขุมขนช่วยลดปัญหาเรื่องสิว
เมื่อผิวหน้าของเราสกปรกรูขุมขนถูกอุดตัน ร่างกายไม่มีช่องทางให้ขับถ่ายของเสียจึงทำให้เกิดปัญหาเรื่องสิว ฝี และใบหน้าเกิดริ้วรอย การใช้เครื่องสำอาง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รูขุมขนถูกอุดตัน แต่รู้สึกว่าจะเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้สำหรับคุณสาวๆ พอล ซอร์ซี่ บิดาแห่งการทำน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็นกล่าวว่า เมื่อเราทาน้ำมันมะพร้าวที่ผิว น้ำมันจะซึมผ่านรูขุมขนและทำความสะอาดมัน ทำให้ร่างกายมีช่องทางขับถ่ายของเสีย เพื่อเป็นการทดลอง พอลให้ใครสักคนเคี้ยวหมากฝรั่ง หลังจากนั้นพอลให้น้ำมันมะพร้าวแก่เขา ช้อน หลังจากเคี้ยวหมากฝรั่งไปพร้อมกับน้ำมันมะพร้าว หมากฝรั่งจะค่อยๆละลายหายไปในปาก "นี่เป็นสิ่งเดียวกันกับที่เกิดขึ้นกับสิ่งสกปรกที่อุดตันรูขุมขน" พอลกล่าว

น้ำมันมะพร้าวช่วยสมานผิวป้องกันการเกิดปัญหาหน้าท้องลาย
น้ำมันมะพร้าวยังช่วยเร่งฟื้นฟูอาการบาดเจ็บและติดเชื้อของผิวหนังทุกชนิด ป้องกันการเกิดแผลเป็นที่น่าเกลียด หากใช้ก่อนล่วงหน้าอาการบาดเจ็บนั้นๆจะหายเร็วยิ่งขึ้น จึงเป็นการดีที่จะใช้เป็นประจำทุกวัน คุณผู้หญิงที่ต้องการจะเป็นแม่ หากนวดน้ำมันมะพร้าวที่หน้าท้อง ทุกวันตั้งแต่ก่อนไปจนตลอดและหลังการคลอด การเกิดท้องลายจะไม่เป็นปัญหา หรือผู้ที่เล่นเพาะกายเมื่อทำขนาดของร่างกายและกล้ามเนื้อให้ใหญ่ขึ้น บางคนมีริ้วรอยที่เกิดจากการยืดของผิวหนัง ปัญหานี้แก้ได้ด้วยน้ำมันมะพร้าว

วิธีใช้น้ำมันมะพร้าวดูแลเส้นผมรากผมและหนังศีรษะ
น้ำมันมะพร้าวช่วยให้ผมเป็นเงางามแข็งแรง บางคนกล่าวว่าช่วยให้ผมไม่หงอกก่อนวัยและช่วยให้ผมไม่ร่วงป้องกันศีรษะล้าน ยังดีต่อหนังศีรษะและช่วยควบคุมรังแค วิธีใช้น้ำมันมะพร้าวดูแลเส้นผมรากผมและหนังศีรษะ ชโลมให้ทั่วหนังศีรษะ ด้วยปริมาณที่เหมาะสมประมาณหนึ่งถึงสองช้อนชา นวดหนังศีรษะจนน้ำมันแทรกซึมทั่วหนังศีรษะและเส้นผมแต่อย่าใช้มากจนเปียกเกินไป หลังจากนั้น ทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที (ยิ่งทิ้งไว้นานเท่าไรยิ่งดี) เพื่อให้น้ำมันแทรกซึมสู่หนังศีรษะจึงค่อยสระออก คุณอาจใช้ใส่ผมตั้งแต่ตื่นนอน และทิ้งไว้จนกระทั่งอาบน้ำตอนเช้าจึงสระออก หรือคุณอาจใช้ใส่ผมในตอนกลางคืนก่อนนอน โดยใช้หมวกอาบน้ำคลุมผมไว้ แล้วค่อยสระออกเมื่ออาบน้ำตอนเช้าก็ได้ คุณจะประหลาดใจที่ผมของคุณดูสวยเป็นเงางามและมีรังแคลดน้อยลง

น้ำมันมะพร้าวเหมาะจะใช้เป็นน้ำมันนวด
น้ำมันมะพร้าวเหมาะที่สุดที่จะใช้เป็นน้ำมันนวด (massage therapy) เนื่องจากคุณสมบัติในการฟื้นฟูของมัน ช่วยให้ผิวหนังมีสุขภาพแข็งแรงดูมีน้ำมีนวล และยัง ช่วยผ่อนคลาย ลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ที่สำคัญไม่ทำให้เสื้อผ้าเปื้อน จึง ไม่ทำให้ที่นอนหรือผ้าปูที่นอนเสียหาย หากแม้คุณทำหกบนที่นอน รอยเปื้อนจะต่างจากรอยเปื้อนของน้ำมันอื่น น้ำมันมะพร้าวอย่างเดียวก็เหมาะจะใช้เป็นน้ำมันนวด อย่างไรก็ตาม น้ำมันมะพร้าวร่างกายสามารถดูดซับได้ง่าย ผู้นวดหลายคนจึงผสมน้ำมันมะพร้าวกับน้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงเดียวชั้นดีอย่างน้ำมันอัลมอนด์ ในอัตราส่วน น้ำมันอัลมอนด์ ส่วนต่อน้ำมันมะพร้าว ส่วน ซึ่งทำให้น้ำมันมีความเรียบลื่นขึ้นเมื่อนวดผ่านผิวหนัง

สามารถใช้น้ำมันมะพร้าวนวดบรรเทาปัญหาข้ออักเสบ
ปัญหาข้ออักเสบ ขัด บวม และเจ็บปวด สามารถบรรเทาได้โดยการใช้น้ำมันมะพร้าวทาให้ชุ่มและนวดตรงบริเวณที่มีปัญหาเป็นประจำหรืออาจใช้ผ้าพันไว้ อาการบวมจะลดลง และความเจ็บปวดก็จะลดลงด้วย

น้ำมันมะพร้าวกับการควบคุมน้ำหนัก
หากจะถามว่าน้ำมันมะพร้าวช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่คำตอบคือ จริง แต่เป็น การช่วยทางอ้อม ไม่ได้เป็นผลโดยตรง ข้อดีของน้ำมันมะพร้าวอยู่ที่ เป็นกรดไขมันสายปานกลาง จึงย่อยได้ง่ายกว่า (ไขมันชนิดอื่นเป็นกรดไขมันสายยาว ต้องใช้เอ็นไซม์จากตับอ่อนเป็นตัวช่วยย่อย) และถูกส่งไปที่ตับโดยตรงเพื่อสร้างพลังงาน ทำให้ไม่ไหลเวียนในเส้นเลือดและสะสมตามเซลล์ไขมันเหมือนไขมันชนิดอื่นๆ ยังให้พลังงานได้มากกว่า ทำให้อิ่มเร็วขึ้นและอิ่มนาน ผลคือรับประทานอาหารน้อยลง เพียงแค่ เปลี่ยนมาใช้น้ำมันมะพร้าวปรุงอาหารแทนน้ำมันชนิดอื่นๆที่ใช้อยู่เป็นประจำจะทำให้นน.ลดลงได้หลายกก.ใน เดือน การควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนักด้วยการรับประทานน้ำมันมะพร้าว จึงต้องกระทำด้วยสามัญสำนึกของการลดนน. คือต้องออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการรับประทานคาร์โบไฮเดรท โดยเฉพาะน้ำตาลฟอกขาว ข้าวขัดขาว ขนมปังขาว และควรรับประทานผักสดและผลไม้สดให้มาก

ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันมะพร้าว
เนื่องจากเล็งเห็นถึงประโยชน์อันมากมายมหาศาลของน้ำมันมะพร้าว นอกจากเราจะทำน้ำมันมะพร้าวบริสุทธ์บีบเย็นที่เหมาะกับการรับประทานเพื่อสุขภาพ และใช้ภายนอกเพื่อความงามของผิวพรรณและเส้นผมแล้ว เรายังนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงสุขภาพอีกหลายชนิดเช่น แชมพู ครีมนวดผม ครีมหมักผม น้ำมันบำรุงผม น้ำมันบำรุงผิวหน้าพิเศษ ลิปกลอส สบู่ น้ำมันบำรุงผิว น้ำมันบำรุงผิวแต่งกลิ่น น้ำมันบำรุงผิวอโรมาเทอราปี ครีมสมานส้นเท้า และยังจะมีผลิตภัณฑ์จากน้ำมันมะพร้าวอื่นๆติดตามออกมาอีกหลายชนิด

ทั้งหมดนี้ต้องยกความดีให้กับความมหัศจรรย์จากธรรมชาติของน้ำมันมะพร้าว ดังนั้นวิธีการผลิตจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่ต้องคำนึงถึง การผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์อย่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในสไตล์บูติคออยล์ พิถีพิถันทุกขั้นตอนตั้งแต่จัดตั้งโรงงานในบริเวณที่มีมะพร้าวที่มีคุณภาพดีเลือกใช้เครื่องมือที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เพิ่มภาวะโลกร้อน ไม่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังไฟฟ้าสูงที่จะทำให้น้ำมันสะสมพลังงานกระแสแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่เลือกวิธีที่ให้ผลผลิตมากที่สุด แต่ใช้วิธีที่คงคุณค่าของพลังชีวิตจากธรรมชาติไว้ให้มากที่สุด เป็นสินค้าที่ปราศจากสารพิษและสารเคมี100% เริ่มตั้งแต่การเลือกมะพร้าวจากสวนที่ปราศจากสารพิษหรือสารเคมี ไปจนจบกระบวนการการผลิตที่ปราศจากสารพิษและสารเคมี

คุณภาพของน้ำมันมะพร้าวที่ได้จึงใส เบา กลิ่นหอมมาก (ไม่มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวหืน) รับประทานง่าย คงคุณสมบัติของธรรมชาติไว้สูง เพื่อความเป็น น้ำมันมหัศจรรย์” และ น้ำมันที่ดีที่สุดต่อสุขภาพ” อย่างแท้จริง

วงการแพทย์และนักโภชนาการสมัยใหม่ต่างยอมรับแล้วว่า น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพที่สุดในโลกแล้ว จึงอยากจะให้ผู้มีอุปการะคุณของเราที่ใช้ผลิตภัณฑ์ ขอจงได้ใช้ผลิตภัณฑ์ด้วยความสบายใจและพอใจ ให้สมกับคำขวัญที่ว่า "น้ำมันมะพร้าวทำให้คุณมีความสุข สุขภาพดี และสวยงาม"

มะพร้าวน้ำหอม




         แหล่งปลูกกระจายทั่วทุกภาค จังหวัดที่ปลูก มะพร้าวมากที่สุด คือจังหวัดชลบุรี คิดเป็นร้อยละ10 ของพื้นที่ทั้งหมด รองลงมาคือ ราชบุรี่ สมุทรสาคร นครปฐม และชุมพร แต่ผลผลิตมะพร้าวน้ำหอมจังหวัดสมุทรสาครมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ให้ผลผลิตแล้วเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือ จังหวัดราชบุรี

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
• ควรมีฝนตกกระจายสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี และไม่ควรมีฝนตกน้อยกว่า 50 มิลลิเมตร เกิน 3 เดือน
• อุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส จะสูงหรือต่ำกว่านี้ไม่เกิน 7-8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิไม่ควรเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน
• มะพร้าวควรได้รับแสงแดดอย่างน้อย 5 ชั่วโมงต่อวัน แสงแดดต้องสาดส่องอย่างสม่ำเสมอตลอดปี
• ควรมีลมพัดอ่อน ๆ แต่พัดอย่างสม่ำเสมอ
• ดินไม่เปรี้ยวหรือเค็มจัด มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ และความชื้นพอเหมาะ แต่ถ้าเป็นดินน้ำไหลทรายมูลที่เกิดจากน้ำพัดพามาสะสม เช่น ดินริมแม่น้ำ จะปลูกมะพร้าวได้ดีที่สุด

พันธุ์มะพร้าวน้ำหอม
เชื่อว่ามะพร้าวน้ำหอมกลายพันธุ์มาจากพันธุ์หมูสีเขียว เกิดจากการคัดเลือกพันธุ์โดยธรรมชาติ จุดเด่นคือ น้ำมะพร้าวมีกลิ่นหอมและรสหวานจึงเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้ามากที่สุด ในบรรดามะพร้าวที่ปลูกเพื่อขายผลอ่อน เป็นมะพร้าวที่ให้ผลเร็วติดผลดกและต้นเตี้ย การบานของดอกตัวผู้และดอกตัวเมียใกล้เคียงกัน จึงผสมตัวเอง แทนที่จะผสมข้ามต้นแบบมะพร้าวต้นสูง ทำให้มะพร้าวน้ำหอมไม่ค่อยกลายพันธุ์

วิธีการปลูก
การเตรียมที่ปลูก
ที่ลุ่ม 
พื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขังจำเป็นต้องยกร่องให้สูงกว่าระดับน้ำ ไม่น้อยกว่า 50 ซม. คันร่อง กว้าง 5-8 เมตร ร่องลึก 1 เมตร กว้าง1 1/2 - 2 เมตร
ที่ดอน
ถ้าเป็นพื้นที่รกร้าง ต้องถางให้เตียน โค่นต้นไม้และขุดตอออกให้หมด เพื่อสะดวกในการดูแลรักษามะพร้าวต่อไป
ระยะปลูกที่เหมาะสม
คือ ระยะระหว่างต้น x ระยะระหว่างแถว เท่ากับ 6x6 เมตร
การเตรียมหลุมปลูก
การปลูกมะพร้าวบนที่ดอนและดินมีความอุดมสมบูรณ์ เช่น เป็นดินทราย หรือดินลูกรัง ควรขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร และลึก 1 เมตร ส่วนในที่ลุ่มหรือที่ที่ดินอุดมสมบูรณ์อาจขุดหลุมให้เล็กกว่านี้ได้ การเตรียมหลุมปลูกที่ดีจะช่วยให้หน่อมะพร้าวเจริญเติบโตเร็วการขุดหลุม ให้ขุดเอาดินผิวไว้ด้านหนึ่ง และดินชั้นล่างไว้อีกทางหนึ่ง และควรขุดในฤดูแล้ง หลังจากขุดหลุมแล้ว ให้ตากดินไว้สัก 7 วัน ถ้าสามารถหาไม้มาเผาในก้นหลุมจะช่วยป้องกันปลวกหลังจากขุดหลุมแล้ว เมื่อจะใส่ดินลงในหลุม ถ้าที่ปลูกนั้นเป็นที่ดอน และสามารถหากาบมะพร้าวมารองก้นหลุมได้ ควรรองก้นหลุมด้วยกาบมะพร้าวสัก 2 ชั้น แล้วจึงเอาดินชั้นบนใส่ลงไปประมาณครึ่งหลุม และใช้ดินเคล้ากับปุ๋ยคอกผสมลงไป บางแห่งก็แนะนำให้ใส่ปุ๋ยกับดิน และกาบมะพร้าวสลับกันไปเป็นชั้น ๆ ปุ๋ยคอกที่ใส่ควรใส่หลุมละประมาณ1 ปี หรือ หินฟอสเฟตครึ่งกิโลกรัมต่อหลุม ใส่ดินและปุ๋ยที่ผสมกันแล้วจนเต็มหลุมและทิ้งไว้จนถึฤดูปลูก
การปลูก
หลังจากฝนตกหนัก 2 ครั้ง ในช่วงต้นฝนจึงเริ่มลงมือปลูก โดยขุดดินตรงกลางหลุม ขนาดเท่าผลมะพร้าว เอาหน่อมะพร้าววางลงจัดรากให้แผ่ตามธรรมชาติ เอาดินกลบเหยียบด้านข้างให้แน่น กลบดินให้เสมอผิวของผลมะพร้าว ปักหลักกันลมโยกในระยะแรก ๆ ควรทำร่มบังแดดด้วย

การดูแลรักษา

การให้น้ำ
ในช่วง 1-2 ปีแรก การให้น้ำแก่ต้นมะพร้าวเป็นสิ่งจำเป็นในฤดูแล้ง ควรรดน้ำอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง และใช้เศษหญ้าคลุมโคนมะพร้าวเพื่อรักษาความชื้น
การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ในช่วงฤดูฝน ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ปริมาณเท่าจำนวนอายุของมะพร้าว แต่ไม่เกิน 4 กิโลกรัม ต่อต้นต่อปี สำหรับปุ๋ยคอกใส่ประมาณ 2 ปีบต่อต้นต่อปี ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีห่างจากโคนต้นมะพร้าวออกมา 15 เซนติเมตร จนถึงรัศมี 1.5 เมตร รอบต้น

การปลูกพืชแซม
ในปีที่ 1-2 มะพร้าวอ่อนยังมีทรงพุ่มไม่ใหญ่นัก และยังไม่ได้ผลผลิต ช่วงนี้จึงควรปลูกพืชอายุสั้น เช่น พืชผัก พืชตระกูลถั่ว พืชไร่ หรือ พืชสวน เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับผู้ปลูกมะพร้าวอ่อน
ศัตรูมะพร้าว

ด้วงแรด
กัดกินยอดมะพร้าวทำให้ใบมะพร้าวขาดเป็นริ้ว ๆ รูปสามเหลี่ยม ต่อมาทางมะพร้าวจะหักพับลงทำให้มะพร้าวโทรม หรือตายได้ แหล่งขยายพันธุ์ในซากลำต้นหรือตอของมะพร้าว หรือมูลสัตว์ที่กองทิ้งไว้นาน ๆ การกำจัดแหล่งขยายพันธุ์เป็นการป้องกันที่ดีที่สุด
การป้องกันกำจัด
ใช้วิธีเขตกรรม
การกำจัดแหล่งขยายพันธุ์เป็นวิธีที่ดีที่สุด และลงทุนน้อย โดยไม่ปล่อยแหล่งขยายพันธุ์ไว้เกิน 2-3 เดือน มีวิธีดำเนินการดังต่อไปนี้
• เผาหรือฝังซากท่อนมะพร้าว ตอมะพร้าว
• นำชิ้นส่วนของพืชและมูลสัตว์ที่กองทิ้งไว้ ควรเกลี่ยกระจายบนพื้นดินไม่ให้หนาเกิน 15 ซม.
• ถ้าจำเป็นต้องกองทิ้งไว้เกิน 2-3 เดือน ควรหมั่นพลิกกลับกอง เพื่อตรวจหาไข่หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยของด้วงแรด แล้วกำจัดทันที
ใช้วิธีกล
• หมั่นทำความสะอาดบริเวณตอมะพร้าวตามโคน และยอด หากพบให้ใช้เหล็กแหลมแทงด้วงแรดในรู เพื่อกำจัดทันที ก่อนจะทำลายตายอดมะพร้าว พร้อมใส่สารฆ่าแมลงป้องกันไม่ให้ด้วงงวงมะพร้าววางไข่
ใช้สารฆ่าแมลง
• พอสซ์ หรือลอร์สแบบ 40 อีซี ปริมาณ 80 มล./น้ำ 20 ลิตร สำหรับมะพร้าวอายุ 1-5 ปี ราดบริเวณคอมะพร้าวให้เปียกชุ่มโดยใช้น้ำยาผสมประมาณ 1-1.5 ลิตร/ต้น ตามขนาดของคอมะพร้าว ห่างกัน 15-20 วัน ทำติดต่อกัน 1-2 ครั้ง
• เซฟวิน 85 ดับบลิวพี ใช้เซฟวิน 85 ดับบลิวพี 1 ส่วน ผสมขี้เลื่อย 33 ส่วน ใช้ทารอบยอดส่วนของโคน ทางใบมะพร้าว
• ลูกเหม็น ใช้ลูกเหม็น 6-8 ลูก/ต้น ใส่ลูกเหม็นไว้ที่โคนทางมะพร้าวที่อยู่รอบยอดที่ยังไม่คลี่จำนวน 3-4 ทาง ๆ ละ 2 ลูก ลดจำนวนลูกเหม็นลงเป็น 1 ลูก/ทางใบมะพร้าวต้นเล็ก
• ฟูราดาน 3% จี ใช้ฟูราดาน 200 กรัม/ต้น โรยรอบคอมะพร้าวตามโคนกาบใบ

ด้วงงวงชนิดเล็กและชนิดใหญ่
ตัวด้วงกัดกินส่วนอ่อนของมะพร้าว เช่น ยอดอ่อนหรือโคนมะพร้าว ทำให้มะพร้าวแคระแกร็น ใบหดสั้น ใบอ่อนร่วงหล่น คอมะพร้าวเน่า และตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด
ใช้น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว หรือ ชันผสมน้ำมันยาง ทารอบต้นตั้งแต่โคนต้นถึงระดับเหนือพื้นดิน 2 ฟุต ที่พบรอยแผลหรือรอยแตกของเปลือก เพื่อป้องกันการวางไข่ ทำปีละ 2 ครั้ง ใช้สารเคมีลอร์สแบน 40-80 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หยอดตามรอยแผลหรือรูเจาะที่เกิดจากด้วงแรด บริเวณรอบคอมะพร้าว และราดบริเวณบาดแผลที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน พร้อมอุดรูด้วยดินน้ำมัน หรือดินเหนียว
การเก็บเกี่ยว
วิธีการที่สามารถใช้สังเกตอายุการเก็บเกี่ยวมะพร้าวที่เหมาะสมได้ เช่น
• การนับทะลาย นับทะลายที่จะเก็บเกี่ยวเป็นทะลายที่หนึ่ง แล้วนับทะลายที่ออกตามมาเป็นทะลายที่สองและสามไปเรื่อย ๆ เมื่อจั่นที่ 12 แทงออกและกาบหุ้มยังไม่แตกเป็นระยะที่ มะพร้าวทะลายแรกอยู่ในช่วงที่อ่อนกำลังดี
• สังเกตจากหางหนู เก็บเกี่ยวในช่วงที่หางหนูแห้งครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งยังสดอยู่
• สังเกตจากสีผล ให้สังเกตบริเวณรอยต่อของขั้วกับตัวผล ซึ่งจะเห็นเป็นวงสีขาว ๆ รอบขั้วผลอยู่ในระยะที่เพิ่ง เลือนหายไป

วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
• แช่ผลมะพร้าวในสารละลายโซเดียมเมตาซัลไฟท์ ความเข้มข้นประมาณ 3 % นาน 3 นาที จะช่วยรักษาสีผิวของมะพร้าวอ่อนให้เก็บในอุณหภูมิต่ำได้นานเป็นเดือน
• หุ้มผลด้วยฟิล์มพลาสติกเพื่อป้องกันผลเหี่ยว และช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำระหว่างการเก็บรักษา ซึ่งถ้ามีน้ำสะสมที่ผิวผลมากจะทำให้เกิดเชื้อราขึ้นระหว่างการเก็บรักษาหรือการวางจำหน่ายได้
• อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับรูปแบบ หรือลักษณะของมะพร้าว หากเป็นมะพร้าวที่แต่งเปลือกเขียวออกจนหมดควรเก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสจะเก็บได้นานถึง 4 สัปดาห์ แต่ถ้าปอกเปลือกนอกออกทั้งหมด เหลือเฉพาะส่วนขั้วผลและขัดกะลาจนเรียบ ควรเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2-4 องศาเซลเซียส แต่ถ้าแต่งเปลือกสีเขียวออกบางส่วนจะต้องเก็บที่อุณหภูมิสูงขึ้นคือ 10 องศาเซลเซียสเพื่อป้องกันความเสียหาย จากความเย็นที่ส่วนเขียวซึ่งจะเกิดจุดสีน้ำตาล และทำให้เปลือกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหากเก็บที่อุณหภูมิต่ำนานเกิน

การแปรรูป
• มะพร้าวแก้ว
• วุ้นมะพร้าว
• มะพร้าวสวรรค์
• ข้าวเกรียบมะพร้าว
• เยลลี่มะพร้าว

กะลามะพร้าวสร้างอาชีพ




       ประโยชน์ของมะพร้าวนั้นเรียกได้ว่าครบวงจรทุกส่วนของมะพร้าว สามารถนำมาใช้ได้หมด ไม่ว่าจะเป็นต้นหรือลูกโดยเฉพาะลูกมะพร้าวเมื่อใช้เนื้อและน้ำหมดแล้วลูกมะพร้าวสามารถ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวใช้ประโยชน์ได้เมื่อก่อนการนำกะลามะพร้าวมาทำ เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนมักจำกัดอยู่ในวงแคบๆคือคนที่อาศัยอยู่ตามชนบทแต่ปัจจุบันนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกะลามะพร้าวได้รับการพัฒนาให้มีความหลากหลายมากขึ้น เช่นทำเป็น เครื่องประดับของชำร่วยฯลฯกะลามะพร้าวที่ประดิษฐ์แล้วจึงเป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ได้รับ ความนิยมไม่น้อย

สร้างสรรค์งานจากกะลามะพร้าว


อุปกรณ์

1. กะลามะพร้าว
2. มอเตอร์ที่ใส่ใบเลื่อยไฟฟ้า
3. กระดาษทราย เบอร์ 60 เบอร์ 220 เบอร์ 400 และเบอร์ 600
4. ก้อนขัดมัน หรือ ก้อนยาขาว
5. ไม้ตาล
6. หวาย
7. กาวร้อน

ขั้นตอนการผลิต-วิธีการทำ

1. เริ่มจากการสั่งซื้อกะลามะพร้าว (เป็นกะลามะพร้าวที่ถูกผ่าแกะเอาเนื้อมะพร้าวไปคั้นกะทิแล้ว) งานประดิษฐ์ประเภทนี้สามารถใช้กะลามะพร้าวได้ทุกชนิด โดยเฉพาะมะพร้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีขนาดเล็ก ผู้ประดิษฐ์สามารถนำมาทำเป็นแก้วกาแฟ หรือแก้วไวน์

2. นำกะลามาวาดรูป และตัดกะลาออกเป็นรูปแบบต่างๆ ด้วยมอเตอร์ที่ใส่ใบเลื่อยไฟฟ้าให้มีลักษณะใกล้เคียงกับภาชนะที่จะทำ หรือหากผู้ประดิษฐ์จะทำเป็นประเภทเครื่องประดับ ควรตัดให้มีขนาดพอดี

3. นำกะละมาขัดด้วยกระดาษทรายทั้งสองด้าน โดยขัดกระดาษทั้งหมด 4 ครั้ง

4. ขัดครั้งแรก ใช้กระดาษทรายเบอร์ 60 ขัดไปจนเยื่อที่ติดกะลาออกหมด

5. แล้วเปลี่ยนมาขัดเบอร์ 220 ตามด้วยกระดาษทรายเบอร์ 400

6. จากนั้น ขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 600 เมื่อผ่านขั้นตอนนี้ กะลามะพร้าวจะเริ่มเรียบเป็นมัน

7. นำมาขัดด้วยก้อนขัดมันหรือก้อนยาขาวเป็นขั้นตอนสุดท้ายเพื่อให้กะลามีผิวลื่นมันวับ ก่อนจะนำไปประกอบกับด้ามที่ทำมาจาก"ไม้ตาล" (ไม้ตาลตัดให้เป็นรูปทรงตามที่ต้องการ)

8. ขัดไม้ตาลให้มันด้วยวิธีการเดียวกันกับกะลา ตอกหมุดยึดด้ามกับกะลา ใช้หวายถักปิดรอยบริเวณตอกหมุด

9. ภาชนะที่ไม่สามารถตอกหมุด ใช้กาวร้อนยึดให้ติดกัน เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำภาชนะจากกะลา หรือผู้ประดิษฐ์อาจจะตกแต่งสร้างสรรค์เพิ่มเติมภายหลังจากนั้นก็ได้

ข้อควรทราบการแปรรูปจากกะลา

1. กะลามะพร้าวที่จะนำมาแปรรูปควรเป็นมะพร้าวพันธ์พื้นเมือง นอกจากจะหาซื้อง่ายแล้ว กะลามะพร้าวยังมีความแข็งแรง ทนทาน
2. กะลาสามารถนำมาแปรรูปเป็นสิ่งของต่างๆ ได้ง่าย และที่สำคัญ มีต้นทุนต่ำ

กะลามะพร้าวสร้างอาชีพ เป็นการแนะนำวิธีการสร้างสรรค์กะลามะพร้าวให้กลายเป็นเครื่องประดับ หรือเครื่องใช้ คนที่สนใจสามารถนำไปศึกษาเป็นแนวทางก่อนก้าวสู่อาชีพนี้ สำหรับผู้ที่รู้จักใช้ประโยชน์จากสมองในการคิดค้นสิ่งรอบตัว สิ่งที่ดูเหมือนไร้ค่า ก็อาจสร้างเงินสร้างงานขึ้นได้

ที่มา : "แปรกะลาที่เคยไร้ค่า สร้างคุณค่าเพิ่มราคา". นิตยสารเส้นทางเศรษฐี. ปีที่ 7 ฉบับที่ 81 (พฤศจิกายน 2544) : หน้า 36 - 38 .

การทำมะพร้าวกะทิ



           วิธีที่ 1 ทำมะพร้าวจากมะพร้าวพันธุ์อะไรก็ได้ ถ้าต้องการให้ลูกออกมาเป็นมะพร้าวกะทิ ก็เอาถุงพลาสติกหุ้มจั่น จั่นก็คือดอกมะพร้าว 1 จั่นคือ 1 ทะลาย จั่นไหนถูกห่อด้วยพลาสติก จั่นนั้นหรือทลายดอกนั้นมันจะพิการ ทั้งนี้จะต้องห่อตั่งแต่กลีบจั่นเริ่มแย้มบาน ห่อไปจนกระทั่งมีลูกขนาดลูกหมากจึงค่อยเอาออก โดยทั่วไปมะพร้าวในทะลายที่ห่อจั่นประมาณ 80-90 % จะเป็นมะพร้าวกะทิ วิธีนี้เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบชั่วคราว มะพร้าวในทะลายอื่น ๆ ที่ไม่ได้ห่อจั่นจะไม่เป็นมะพร้าวกะทิ

          วิธีที่ 2 เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบถาวร วิธีนี้ให้นำมะพร้าวที่เพาะไว้ ที่มีหน่อเหนือเปลือกขึ้นมาราว 30 ซม. แล้วใช้มีดตัดส่วนปลายตรงข้ามกับหน่อให้กะลาขาด จนเห็นเนื้อสีขาวและจาวสีเหลือง ภายในกะลามะพร้าวจากนั้นคว้านเอาจาวที่อยู่กลางกะลาออก เอาดินเหนียวอัดลงไปในกะลาแทนจาวจนเต็มและแน่นพอประมาณ สามารถนำไปปลูกได้ นายมานิตย์ เล่าให้ฟังว่า มะพร้าวที่ทำวิธีนี้จะเป็นมะพร้าวกะทิประมาณ 50 % หากจะเพิ่มปริมาณ ก็สามารถทำได้โดยให้เอาผลมะพร้าวที่ไม่เป็นมะพร้าวกะทิมาเพาะแล้วทำวิธีการเดียวกับที่กล่าวมานี้ ก็จะทำให้มะพร้าวในต้นใหม่เป็นมะพร้าวกะทิ ถึง 80 -90 % ทีเดียว มะพร้าวทุกพันธุ์สามารถทำมะพร้าวกะทิได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าใช้มะพร้าวน้ำหอม ทำมะพร้าวกะทิไม่ดีเพราะมีกลิ่นเหม็นหืน มะพร้าวที่ดีที่สุดในการทำมะพร้าวกะทิคือ มะพร้าวกลางประโยชน์ :

ช่วยทำให้เศรษฐกิจของเกษตรกรดีขึ้น เป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรในท้องถิ่น

สรรพคุณมะพร้าว


สรรพคุณมะพร้าว





ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cocos nucifera L. var. nucifera


ชื่อสามัญ : Coconut


วงศ์ : Palmae


ชื่ออื่น : ดุง (จันทบุรี) เฮ็ดดุง (เพชรบูรณ์) โพล (กาญจนบุรี) คอส่า (แม่ฮ่องสอน) พร้าว (นครศรีธรรมราช) หมากอุ๋น


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 20-30 เมตร ลำต้นกลม ตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน เปลือกต้นแข็ง สีเทา ขรุขระ มีรอยแผลใบ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียน รูปพัดจีบ กว้าง 3.5- ซม. ยาว 80-120 ซม. โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวแก่เป็นมัน โคนก้านใบใหญ่แผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแขนงตามซอกใบ ดอกเล็ก กลีบดอกที่ลดรูปมี 4-6 อัน ในช่อหนึ่งมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อดอก ไม่มีก้านดอก ผล รูปทรงกลมหรือรี ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวพอแก่เป็นสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในแข็งเป็นกะลา ชั้นต่อไปเป็นเนื้อผลสีขาวนุ่ม ข้างในมีน้ำใส
ส่วนที่ใช้ :


เปลือกผล - ผลแก่ปอกเปลือกตากแห้งเก็บไว้ใช้


กะลา - ตากแห้ง หรือเผาเป็นถ่าน บดเป็นผงเก็บไว้ใช้ โดยเผากะลาให้ลุกโชน เอากะลามัง หรือกระทะเหล็กครอบไม่ให้อากาศเข้าได้ จนไฟดับหมดแล้วปล่อยไว้ให้เย็น เปิดภาชนะเหล็กที่ครอบไว้ออก จะได้ถ่านจากกะลามะพร้าว นำไปบดเป็นผง เก็บไว้ในขวดปิดสนิท เก็บไว้ใช้ และที่ก้นภาชนะเหล็กมีน้ำมันเหนียวสีน้ำตาล ขูดเก็บไว้ใช้ เป็นยาทาแก้กลากเกลื้อนได้ดี


เนื้อมะพร้าว - เนื้อมะพร้าว (ติดกับกะลา) มีสีขาว ใช้สด หรือหั่นฝอย ใส่น้ำเคี่ยว เอาน้ำมันมะพร้าวเก็บไว้ใช้ หรือตากแห้ง บีบและเคี่ยวเอาน้ำมันเก็บไว้ใช้ น้ำมันใหม่ๆ จะมีกลิ่นหอม น้ำมันมะพร้าวในที่อุ่นจะเหลวใส ในที่เย็นจะข้นขาวคล้ายเนยแข็ง มีกลิ่นเฉพาะตัว


น้ำ - น้ำมะพร้าว อ่อน และน้ำมะพร้าวแก่ใช้สด


ราก - ใช้สด เก็บได้ตลอดปี


ดอก - ใช้สด


เปลือกต้น - ใช้สด เก็บได้ตลอดปี


สารสีน้ำตาล - ที่ออกมาย้อยแข็งอยู่ใต้ใบ เก็บไว้ใช้


สรรพคุณ :


เปลือกผล - รสฝาดขม สุขุม ใช้ห้ามเลือด แก้ปวด เลือดกำเดาออก โรคกระเพาะ และแก้อาเจียน


กะลา - แก้ปวดเอ็น ปวดกระดูก


ถ่านจากกะลา - รับประทานแก้ท้องเสีย และดูดสารพิษต่างๆ


น้ำมันที่ได้จากการเผากะลา - ใช้ทา บาดแผล และโรคผิวหนัง แก้กลาก อุดฟัน แก้ปวดฟัน


เนื้อมะพร้าว - รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ รับประทานบำรุงกำลัง ขับพยาธิ


น้ำมันจากเนื้อมะพร้าว - ใช้ทาแก้กลาก และบาดแผลที่เกิดจากความเย็นจัด หรือถูกความร้อน และใช้ผสมทาแก้โรคผิวหนังต่างๆ นอกจากที่ยังใช้เป็นอาหาร ทาแก้ผิวหนัง แห้ง แตกเป็นขุย และชนิดที่บริสุทธิ์มากๆ ใช้เป็นตัวทำลายในยาฉีดได้


น้ำมะพร้าว - รสชุ่ม หวานสุขุม ไม่มีพิษ แก้กระหาย ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้พิษ อาเจียนเป็นเลือด ท้องเสีย บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ในยามจำเป็น น้ำมะพร้าวอ่อนอายุประมาณ 7 เดือน อาจใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดแก้ภาวะการเสียน้ำได้


ราก - รสฝาด หวาน ใช้ขับปัสสาวะ และแก้ท้องเสีย ต้มน้ำอมแก้ปากเจ็บ


เปลือกต้น - เผาเป็นเถ้า ใช้ทาแก้หิด และสีฟันแก้ปวดฟัน


สารสีน้ำตาล - ไหลออกมาแข็งตัวที่ใต้ใบ ใช้ห้ามเลือดได้ดี

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
มะพร้าวเก็บในช่วงผลแก่ และนำมาเคี่ยวเป็นน้ำมัน ทาแก้ปวดเมื่อย และขัดตามเส้นเอ็น เจือกับยาที่มีรสฝาด รักษาบาดแผลได้
ใช้น้ำมะพร้าว มาปรุงเป็นยารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกมานาน วิธีใช้ทำได้โดย การนำเอาน้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน ในภาชนะคนพร้อมๆ กับเติมน้ำปูนใส 1 ส่วน โดยเติมทีละส่วนพร้อมกับคนไปด้วย คนจนเข้ากันดี แล้วทาที่แผลบ่อยๆ

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของกะทิ






มะพร้าว เป็นพืชที่มีประโยชน์มากมาย และถือเป็นพืชผลไม้คู่ครัวไทยมาช้านาน ในผลมะพร้าว 1 ผลสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย และบทความนี้จะขอบรรยายถึงสรรพคุณต่างๆ ของ “กะทิ” ของเหลวสีขาวขุ่นที่ได้มาจากการคั้นเนื้อมะพร้าวทึนทึก นั่นเอง 

กะทิ สามารถนำไปประกอบหาอารได้ทั้ง อาหารคาว และอาหารหวาน เลยทีเดียว ประโยชน์มากมาย และมีการใช้กะทิในด้านต่างๆ มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันและป้องกันของร่างกาญ 

สารอาหารในกะทิ 

ในกะทิมีวิตามินหลายชนิด แร่ธาตุ และอิเล็กโทรไลท์ รวมทั้งโพแทสเซียม แคลเซียม และคลอไรด์ไขมันอิ่มตัว ไขมันอิ่มตัวในน้ำมันมะพร้าวถูกสร้างขึ้นจากกรดไขมันห่วงโซ่สั้นและห่วงโซ่กลางได้อย่างรวดเร็ว กลายเป็นพลังงานแทนการจัดเก็บเป็นไขมัน ดังนั้นแม้ว่าไขมันอิ่มตัวจะสูง แต่มะพร้าวสามารถช่วยในการลดน้ำหนักได้ 

กรดไขมันที่มีขนาดปานกลาง ซึ่งถูกย่อยได้ง่าย และเคลื่อนย้ายได้สะดวก เมื่อบริโภคเข้าไป จะผ่านลำคอไปยังกระเพาะเข้าสู่ลำไส้ แล้วไปถูกเผาผลาญให้เป็นพลังงานในตับโดยไม่ไปสะสมเป็นไขมันเหมือนกับน้ำมันไม่อิ่มตัวที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ดังนั้นผู้บริโภคกะทิจึงแข็งแรงเพราะได้พลังงานทันทีที่บริโภคเข้าไป 




อีกทั้งยังไปกระตุ้น ให้ต่อมธัยรอยด์ทำงานได้ดีขึ้น ก่อให้เกิดความร้อน จากผลของอุณหภูมิ Thermogenesis ซึ่งช่วยในการเผาผลาญอาหารที่บริโภคเข้าไปพร้อมกัน ให้เปลี่ยนเป็นพลังงานแทนที่จะไปสะสมเป็นไขมันในร่างกาย นี่จึงเหตุผทลที่ว่า กะทิ ช่วยในเรื่องการลดน้ำหนักได้ นั่นเอง 

กรดลอริค(Lauric Acid) ครึ่งของห่วงโซ่กรดไขมันกลางในกะทิประกอบด้วยกรดลอริค ซึ่งช่วยต้านไวรัส ป้องกันแบคทีเรีย ป้องกันจุลินทรีย์ และต้านเชื้อรา กะทิสามารถช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดีทีเดียว 

บรรเทาโรคภัยไข้เจ็บ 

กะทิเป็นที่รู้จัก เพื่อบรรเทาอาการของการเจ็บคอและแผล และเป็นทางเลือกสำหรับผู้แพ้แลคโตสหรือแพ้นมจากสัตว์ เครื่องดื่มมังสวิรัตินี้ยังรวมถึงถั่วเหลือง และถั่ว 

ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว 

กะทิถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เพื่อผิวชุ่มชื้นและบรรเทาผิวแห้งและผื่น นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้กับผมและในห้องอาบน้ำ 
จะเห็นว่ากะทิมีประโยชน์มากมายต่อร่างกายของเรามากมาย และลบความเชื่อที่เข้ากันผิดๆ ว่าการรับประทานกะทิมากทำให้อ้วน อย่างไรก็ตามการรับประทานที่มากเกินพอดี ก็อาจจะส่งผลร้ายต่อร่างกายได้เช่นกัน ฉะนั้น ควรรับประทานแต่พอเหมาะพอดี เพื่อสุขภาพที่ดีค่ะ 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : 
www.kroobannok.com/blog/8275 
www.gotoknow.org/posts/315548 
www.thaihowabout.com/%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3/

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก : 
www.thaimtb.com 
www.archive.voicetv.co.th 


กะทิ,มะพร้าว,ประโยชน์ของกะทิ,ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว,อาหารคาว,อาหารหวาน,แพ้นม,มังสวิรัติ,สารอาหารในกะทิ,ลดน้ำหนัก

มะพร้าวเผา


ประโยชน์ของมะพร้าวเผา

        " น้ำมะพร้าว" ถือเป็นเครื่องดื่มเกลือแร่จากธรรมชาติ เพราะต้นมะพร้าวมีลำต้นสูงต้องผ่านการกลั่นกรองตามชั้นต่างๆ ของลำต้นกว่าจะถึงลูกมะพร้าวที่อยู่ข้างบนน้ำมะพร้าวที่ได้มาจึงบริสุทธิ์มาก และอุดมไปด้วยแร่ธาตุหลายชนิด เช่น โพแทสเซียมเหล็ก โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ทองแดง กรดอะมิโน กรดอินทรีย์และวิตามินบี แถมย ังมีน้ำตาลกลูโคสที่ร่างกายสามารถดูดซึม
ไปใช้ประโยชน์ได้ภายใน 5 นาที และยังเป็นประโยชน์ในการขับสารพิษและชำระล้างร่างกายด้วย

         น้ำมะพร้าวช่วยชะลออาการอัลไซเมอร์
การดื่มน้ำมะพร้าวทุกวันจะช่วยชะลออาการอัลไซเมอร์ได้ จากผลงานวิจัยของ
ดร.นิซาอูดะห์ ระเด่นอาหมัด อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่า ในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนคล้ายฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจนสูงซึ่งมีผลช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อมในสตรีวัยทอง
อกจากนี้ การดื่มน้ำมะพร้าวเป็นประจำทุกวันยังสามารถช่วยสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่าปกติและไม่ทิ้งรอยแผลเป็นอีกด้วย

       น้ำมะพร้าวช่วยให้ผิวพรรณสดใสน้ำมะพร้าวสามารถช่วยเสริมสร้างความสวยใสของผิวพรรณ ทำให้เปล่งปลั่งและขาวนวลขึ้นจากภายในสู่ภายนอกเพราะในน้ำมะพร้าวมีเอสโตรเจนอยู่ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินทำให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น และชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัยได้ และในน้ำมะพร้าวยังสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ได้ดี




วิธีทำมะพร้าวเผา

ขั้นตอนที่ 1
เลือกมะพร้าวครับ เลือกเอาทะลายที่มีเนื่อนิดหน่อยกำลังดีไม่แก่เกินไป






ขั้นตอนที่ 2
นำมะพร้าว ที่สอยมารวมกันใว้ รอเข้าเตา








ขั้นตอนที่ 3
นำเตาที่ใช้ทำจากถัง 200 ลิตรเจาะรูด้านล่างเพื่อใส่เชื้อเพลิง..






ขั้นตอนที่ 4
นำเชื้อเพลิงชั้นล่างแล้วก็วางลูกมะพร้าวสลับกันไปมาจนเต็มถัง





ขั้นตอนที่ 5
จุดไฟด้านล่างแล้วก็รอ..รอ..รอจนไฟมอดแล้วค่อยเอาลูกมะพร้าว





ขั้นตอนที่ 6
จะได้ลูกมะพร้าว ลูกดำๆร้อนๆ แต่ต้องรีบปอกเปลือกออกรอให้เย็นไม่ได้ เพราะจะทำให้ผิวมะพร้าวมีสีคล้ำ ไม่เป็นสีขาว




ขั้นตอนที่ 7
ต้องเกลาเอาเปลือกมะพร้าวออกให้หมด จะได้ลูกมะพร้าวที่มีสีขาวสวย น่ากิน


ขั้นตอนที่ 8
นำมะพร้าวที่เสร็จแล้วมาล้างน้ำเก็บขึ้นรถ เป้นอันเสร็จกระบวนการ






ขั้นตอนที่ 9
ได้ลูกมะพร้าว น่ารับประทาน หรือ จำหน่ายและบริโภคเอง